ประเพณีเกี่ยวกับข้าวของชาวมอแกลน

  • ชาวมอแกลนมีวัฒนธรรมเกี่ยวกับข้าว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในสมัยก่อนเคยมีการปลูกข้าวไร่ และมีวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับการปลูกข้าวและให้ความสำคัญกับข้าว ชาวมอแกลนที่ กาะพระทอง จังหวัดพังงา มีเทศกาลข้าว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยว มีการนาข้าวเปลือกใหม่ ๆ มาตำให้เปลือกกะเทาะออก และนำไปคั่วในกระทะร้อน ๆ ที่ตั้งบนเตาหินสามเส้า ข้าวจะปะทุและพองออกกลายเป็น “ข้าวตอก” ที่ใช้ในพิธีกรรมสักการะวิญญาณบรรพบุรุษและนำมาโปรยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพยากรณ์ดวงชะตาของผู้คนและชุมชน พิธีจัดขึ้นบริเวณไร่ข้าวและบ้านที่อยู่อาศัย มีการสร้างแท่นบูชาไม้ขนาดเล็กซึ่งเปรียบเป็นที่พำนักของเหล่าภูตเจ้าที่และดวงวิญญาณในธรรมชาติ พิธีนี้ดำเนินไปเป็นเวลาสามวัน
  • ในพิธีมีการทำขนมด้วยแป้งชนิดต่าง ๆ มีการเตรียมเนื้อไก่ทั้งที่ดิบและปรุงสุก เตรียมหัวหมูดิบและสุรา เครื่องสักการะแต่ละอย่างทำหน้าที่แตกต่างกันไป อาทิ หัวหมูดิบเป็นเครื่องสักการะเพื่อชดใช้หนี้ “ความเจ็บไข้ได้ป่วย” ส่วนไก่นั้นเป็นเครื่องสักการะที่พบได้ในกลุ่มมอแกนและมอแกลน ตลอดระยะเวลาสามวันที่พิธีกรรมนี้ดำเนินไป คนทรงจะตระเวนจากบ้านหนึ่งไปอีกบ้านหนึ่ง เพื่อสวดขอพรต่อดวงวิญญาณประจำบ้านให้ช่วยคุ้มครอง
  • เมื่อการปลูกข้าวหมดไป วัฒนธรรมประเพณีเกี่ยวข้องกับข้าวก็สูญหายไปด้วย เหลือแต่ประเพณีอื่น ๆ เช่นพิธีลอยเรือ ซึ่งก็ใช้ข้าว กับข้าว น้ำดื่ม เป็นเครื่องเซ่นประกอบพิธี

    [ที่มา:ทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเรื่องราวชาวเล ศูนย์มานุษยวิทยาฯ]