ชาวมอแกนมีนิทานเกี่ยวกับสึนามิที่ทำให้ทั้งหมู่บ้านรอดตาย

  • เป็นที่ทราบกันดีทั่วไปว่าชาวมอแกนที่หมู่เกาะสุรินทร์รอดชีวิตจากคลื่นสึนามิเมื่อเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เพราะว่ามีตำนานที่เกี่ยวกับคลื่นเจ็ดชั้น ชาวมอแกนเรียกคลื่นใหญ่นี้ว่า ละบูน ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นคลื่นยักษ์กินคน ที่จะซัดมากวาดล้างทำความสะอาดผืนดินหลังจากที่ผู้คนทำให้ผืนแผ่นดินสกปรกรก ไปด้วยขยะ สิ่งก่อสร้าง และความเลวร้ายต่าง ๆ นานา คนเก่าแก่โบราณก็เคยเผชิญคลื่นแบบนี้ และแม้จะไม่มี ภาษาเขียนที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลูกหลานรุ่นหลังได้รับรู้ แต่บรรพบุรุษผู้ชาญฉลาดก็ได้เรียงร้อย เรื่องราวเป็นตำนานคลื่นเจ็ดชั้นเล่าต่อ ๆ กันมาเพื่อเป็นสิ่งเตือนลูกหลานถึงภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ซ้ำแล้วซ้ำอีกในอนาคต
  • ดังนั้น ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 เมื่อมอแกนผู้เฒ่าสังเกตเห็นน้ำทะเลลดลงผิดปกติ และมองออกไปเห็นคลื่นขนาดใหญ่ซัดซ่าเข้ามายังฝั่งเป็นเกลียวสีขาว ก็ส่งเสียงร้องเตือนผู้คนในหมู่บ้านให้ปีน ขึ้นไปหลบอยู่บนที่สูง ส่วนมอแกนหนุ่ม ๆ ที่กำลังกรรเชียงเรือและถือท้ายเรืออยู่ในทะเลบริเวณนั้น แม้ว่าหลายคน จะไม่คุ้นเคยกับตำนานดังกล่าว แต่ก็สังเกตเห็นความผิดปกติของน้ำทะเลที่ปั่นป่วนมากขึ้น และรีบบังคับเรือ ไปให้ไกลจากชายฝั่งเพื่อหลีกเลี่ยงแรงกระแทกจากคลื่น ท่ามกลางกระแสน้ำที่เชี่ยวและหมุนวน ชาวมอแกน จึงมีทั้งตำนานที่เปรียบเสมือนสิ่งเตือนภัยและมีสัญชาตญาณที่ระแวดระวังเกี่ยวกับทะเลที่ทำให้เอาชีวิตรอด จากภัยสึนามิครั้งนั้นได้

    [ที่มา : หนังสือทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้องเรื่องราวชาวเล /ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ]
ภาพวาดแสดงจินตนาการเกี่ยวกับสึนามิ /ภาพจากหนังสือทักษวัฒนธรรมชาวเล
ชาวมอแกนหลายรายอยู่ในเรือระหว่างเกิดสึนามิ /ภาพจากหนังสือทักษวัฒนธรรมชาวเล