เป็นนาย

คำนี้ มิใช่เป็นสรรพนามนำหน้าเพศชาย ‘เป็นนาย’สามารถเป็นได้ทั้งสองเพศ แม้แต่กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ทางรสนิยมก็เป็นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข วัฒนธรรมองค์กรนั้นๆซึ่งสามารถปรับเปลี่ยน วิวัฒนาการไปตามกระแสโลก อาจจะเป็นได้ทั้งความก้าวหน้าและถดถอยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย!
แต่ก็อีกนั่นแหละ ‘เป็นนาย’ ใช่จะเปิดโอกาสเท่าเทียมแก่ทุกคนเสียเมื่อไหร่ โดยอิงข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญ เช่นบางอาชีพสงวนไว้สำหรับคนไทย โดยยืนอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ‘รักชาติ’ ใกล้ชิดคำว่า’ชาติ’มาก-น้อย เช่น บางอาชีพกำหนดคุณสมบัติไว้ว่า ต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด วุฒิการศึกษา ซึ่งก็มีการจัดเกรดสถาบันที่จบมาด้วย นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีเรื่องเส้นสาย ความสัมพันธ์อย่างที่เรียกทับศัพท์ว่า’คอนเน็คชั่น’อีกต่างหาก ทำไมคนไทยจำนวนหนึ่ง(ซึ่งคงมีปริมาณมาก)จึงอยากเป็นนาย หรืออยากให้คนในครอบครัว ในวงศ์ตระกูลได้เป็นนาย? ใช่…อำนาจ สิทธิประโยชน์ การได้สิทธิยกเว้นในทางปฏิบัติในการบังคับใช้กฎหมาย

ภาพโดยฟองเวลา

กรรมการวัดท่านหนึ่งแวะมาเยี่ยมหลวงพ่อ และถือโอกาสขอด้ายมงคลไปผูกข้อมือหลานสาวซึ่งกำลังเรียนหลักสูตรพยาบาล หลวงพ่อมักถามญาติโยมที่มาเยี่ยมว่าลูกหลานทำงานอะไร และจะให้ความสำคัญกับคนที่รับราชการ ซึ่งญาติโยมผู้นั้นก็ดูพึงใจ

ภาพโดยฟองเวลา


ในตึกอายุรกรรมชายซึ่งเป็นห้องรวม มีผู้ป่วยสูงสัยจำนวนมาก คนเฝ้าไข้ก็หน้าหมอง ต่างมีความเครียดกดทับ ในสถานการณ์ที่ต้องมาเฝ้าคนป่วย กับภาระทางเศรษฐกิจ ถ้าเป็นครอบครัวข้าราชการ ระดับความเครียดคงลดลงเพราะมีระบบสวัสดิการทีแน่นอน ….แต่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่ที่เป็นผู้แพ้ ตกหล่นจาก’ขบวนรถไฟการศึกษาไทย’ตั้งแต่สถานีแรกๆล่ะ ผลกระทบจากเขื้อไวรัสโควิด 19 เปลี่ยนคนจนให้เป็นผู้ยากไร้ รัฐบาลได้ทีออกนโยบายสงเคราะห์ แล้วสำทับทวงบุญคุณอยู่เหยงๆ

ภาพโดยฟองเวลา

ไม่ดีกว่าหรือ ถ้าจะมี’สวัสดิการถ้วนหน้า’ สังคมคนสูงวัยก็ไม่ต้องเครียด ‘สุขยามแก่เฒ่าได้’ คนวัยทำงานก็สามารถปลดปล่อยพลังการผลิตได้อย่างสร้างสรรค์เต็มศักยภาพ นักเรียนก็เรียนอย่างมีความสุข เรียนรู้ในสิ่งที่ตนสนใจ โดยไม่ต้องแบกรับความคาดหวังจากผู้ปกครองมากนัก

แม้ไม่เป็นนายก็เป็นคนไทยได้เต็มศักดิ์ศรี …จะดีกว่าไหม???

หนุน(ร่าง)พระราชบัญญัติบำนาญแห่งชาติ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *