ข้อพิพาทที่ปาเลสไตน์

  • เขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซารู้จักกันว่าเป็นดินแดนปาเลสไตน์ เช่นเดียวกับเยรูซาเลมตะวันออกและอิสราเอลที่ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกว่าปาเลสไตน์ตั้งแต่สมัยโรมัน
  • พื้นที่อิสราเอล-ปาเลสไตน์นี้ เป็นที่อยู่อาศัยของทั้งชาวยิว (อิสราเอล) และชาวอาหรับ (ปาเลสไตน์)
  • ดินแดนปาเลสไตน์เดิมนี้เป็นอาณาจักรของชาวยิวในคัมภีร์ไบเบิล และชาวยิวถือว่าที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของบรรพบุรุษของพวกเขาอยู่ก่อนแล้ว แต่ชาวอาหรับในปาเลสไตน์ก็บอกว่านี่เป็นบ้านของพวกเขาเช่นกัน
  • ปี 1947 สหประชาชาติมีมติให้แบ่งปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐของชาวยิวและชาวอาหรับแยกกัน โดยให้เยรูซาเลมเป็นเมืองนานาชาติ โดยผู้นำชาวยิวตอบรับแผนนี้ แต่ฝ่ายอาหรับปฏิเสธ
  • ปี 1948 ผู้ปกครองชาวอังกฤษและผู้นำชาวยิวประกาศสถาปนาอิสราเอลเป็นรัฐ โดยชาวปาเลสไตน์ไม่ยอมรับสิทธิในการดำรงอยู่ของอิสราเอล และเกิดสงครามขึ้น โดยกองทัพจากประเทศอาหรับเข้าร่วมด้วย
  • ชาวปาเลสไตน์หลายแสนคนถูกบังคับให้อพยพออกจากบ้านของตัวเอง และกว่าจะมีการประกาศหยุดยิงในปีถัดมา อิสราเอลก็เข้ายึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์สำเร็จแล้ว
  • จอร์แดนได้ควบคุมพื้นที่ที่เรียกว่าเวสต์แบงก์ อียิปต์ได้ครอบครองฉนวนกาซา ส่วนเยรูซาเลมถูกแยกออกเป็นของกองกำลังอิสราเอลฝั่งตะวันตก และของกองกำลังจอร์แดนในฝั่งตะวันออก
  • อย่างไรก็ตามชาวปาเลสไตน์ยังใช้ชื่อปาเลสไตน์เป็นคำกลางสำหรับเวสต์แบงก์ กาซา และเยรูซาเลมตะวันออก
  • ด้วยความที่ไม่มีการบรรลุข้อตกลงใด ๆ ต่างฝ่ายก็ต่างโทษกันและกันว่าเป็นที่มาของความขัดแย้งและการทำสงครามเรื่อยมาอีกหลายทศวรรษ
  • ปี 1967 เกิดสงครามใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ สงคราม 6 วัน (Six Day War) อิสราเอลสามารถยึดครองเยรูซาเลมตะวันออก, เขตเวสต์แบงก์, ฉนวนกาซา, พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโกลันของซีเรีย และแหลมไซนาย ไว้ได้

    [ข้อมูลที่มา : BBC News ไทย]
ภาพจาก บีบีซี นิวน์ ไทย
ภาพจาก บีบีซี นิวน์ ไทย