ทุ่นเตือนสึนามิประเทศไทยทำงานได้สมบูรณ์แล้ว

#เรื่องเล่ามหาสมุทรอินเดีย
#ภารกิจวางทุ่นเตือนสึนามิประเทศไทย
เราเดินทาง 1 วัน 1 คืน ในการร่วมภารกิจวางทุ่นเตือนสึนามิลูกแรกที่กลางทะเลอันดามัน ห่างจากฝั่งภูเก็ตประมาณ 350 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางจากฝั่งภูเก็ตอีก 2 วัน 2 คืน เพื่อร่วมภารกิจวางทุ่นฯตัวที่ 2 หรือตัวไกล ซึ่งอยู่แถวมหาสมุทรอินเดีย อ่าวเบงกอล ห่างจากฝั่งภูเก็ต 950 กิโลเมตร รวมเวลาเดินเรือเพื่อร่วมภารกิจวางทุ่นเตือนสึนามิของประเทศไทย กว่า 5 วัน 5 คืน และเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 65 เราเดินทางมาถึงฝั่ง ซึ่งพอจะมีสัญญานมือถือ เราจึงได้รู้ว่า เมื่อ 23 พ.ย. 2565 ทุ่นเตือนสึนามิได้ทำงานสมบูรณ์แล้ว

ภาพโดย ชาญวิทย์ สายวัน

การใช้ชีวิตอยู่บนเรือนั้นไม่ง่ายและก็ไม่ยุ่งยากมากนักเรากินและอยู่อย่างเสมอภาคภายใต้ระเบียบของเรือ จะมีก็แต่เพียงอาการเมาเรือเท่านั้นที่ต่างกัน แต่ทางเรือก็มียาแก้เมาให้
ตื่นนอน 06.00 น. ทานข้าวเช้า 08.00 น. ข้าวเที่ยง 12.00 น. 16.00 น. ออกกำลังกาย แล้วข้าวเย็น 18.00 น. จากนั้นก็ขึ้นดาดฟ้าชมอาทิตย์ตกน้ำ นี่คือกิจวัตรช่วงนั้น แต่วันที่วางทุ่นอย่างทุ่นตัวไกลนั้นทีมงานเริ่มภารกิจ ตั้งแต่ 06.00 -19.00 น.โดยไม่พักเลยทีเดียวครับ

ภาพโดย ชาญวิทย สายวัน

สำหรับการวางทุ่นนั้นเป็นหน้าที่ของวิศวกรชาว USA สองท่าน ส่วนเราและลูกเรือเป็นแค่ผู้ช่วย
สำหรับทุ่นเตือนสึนามิตัวเดิมทั้ง 2 ตัวของประเทศไทยนั้นใช้งานไม่ได้อยู่พักหนึ่งแล้วสาเหตุน่าจะเกิดจากน้ำมือมนุษย์ โดยทุ่นแรกนั้นได้หลุดจากแท่นและลอยออกทะเลไป ซึ่งทางผู้เกี่ยวข้องได้เก็บไว้ที่ จ.พังงาต่อมาได้นำขึ้นเรือเพื่อให้บริษัทผู้ผลิตได้เก็บไว้ ส่วนทุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นลูกไกลก็ได้หลุดจากแท่นเช่นกันตอนนี้ทางประเทศอินเดียไก้เก็บรักษาไว้ โดยตอนแรกจะมีการนัดรับส่งมอบคืนให้ประเทศไทยกลางทะเลแต่สภาพอากาศไม่อำนวยทางอินเดียไม่สามารถนำมาให้เราได้
การวางทุ่นลูกใหม่นั้นต้องอาศัยความแม่นยำทาง GPS ค่อยข้างสูง เมื่อวันที่ 16 พ.ย.65 ตอนที่ทางวิศวกรชาว USA คุณชอน และผู้ช่วย คุณเจสัน ไปถึงบริเวณกลางทะเลอันดามัน ได้ให้เรือ ซีฟเดค ซึ่งเป็นเรืออวนล้อมน้ำลึกขนาด 1,178 ตันกรอส กว้าง 12 เมตร ยาว 65 เมตร ขับวนเป็นตารางเพื่อจดพิกัดและหาตำแหน่งของทุ่นตรวจวัดหน้าพื้นดินใต้ทะเล หลังจากได้พิกัดแล้ว จึงได้สั่งปิดระบบทุ่นเดิม จากนั้นจึงสำรวจพื้นที่ใหม่เพื่อวางทุ่นตรวจวัดพื้นดินใต้ทะเล เมื่อได้พิกัดใหม่แล้วจึงวางทุ่นชุดใหม่และเช็คระบบการทำงาน

ภาพโดย ชาญวิทย์ สายวัน

โดยการทำงานของทุ่นเตือนสึนามินั้นประกอบด้วยกัน3ส่วนคือ 1 ทุ่นตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนภาคพื้นดินใต้ทะเล ทำหน้าที่ตรวจวัดและส่งสัญญานมายังทุ่นที่ลอยอยู่ผิวน้ำทะเล 2 ทุ่นรับสัญญานที่ลอยอยู่บนผิวน้ำทะเลเมื่อได้รับสัญญานแล้วจะส่งข้อมูลไปยังดาวเทียม และ 3 เมื่อดาวเทียมได้รับสัญญานก็จะส่งข้อมูลไปยัง บริษัทภาคพื้นดินที่ USA และหากเชื่อได้ว่าอาจจะเกิดคลื่นสึนามิ ทาง USA ก็จส่งสัญญานมายังศูนย์เตือนภัยฯประเทศไทย และแจ้งสัญญานเตือนภัยไปยังหอเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยต่อไป ซึ่งจะทำให้เราได้ทราบล่วงหน้าก่อนสึนามิจะมาถึง ภายใน 1 ชั่วโมงครึ่ง และหรือ 40 นาที แล้วแต่จุดที่แผ่นดินไหวใต้ทะเล
ส่วนการวางทุ่นตัวไกลก็คล้ายในลักษณะเดียวกันเพียงแต่ขั้นตอนละเอียดกว่า ทุ่นลอยที่ใหญ่ ทุ่นภาคพื้นดินลึกถึง 3,500 เมตร และใช้ลูกเรือมากกว่า ซึ่งการวางทุ่นตัวไกลนั้นจะอยู่บริเวณอ่าวเบงกอล มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งผู้โพสข่าวในนามนักข่าวพลเมืองได้มีส่วนร่วมภารกิจบินโดรนเพื่อหาทุ่นด้วย

ภาพโดย ชาญวิทย์ สาวัน

ผู้โพสได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณชอนถึงภารกิจวางทุ่นในครั้งนี้ โดยคุณชอนรู้สึก”พอใจกับการวางทุ่นในครี้งนี้ที่มีหลายภาคส่วนร่วมและฝากบอกทิ้งท้ายถึงเรือประมงด้วยว่าขอความร่วมมืออย่าเข้าไกล้ทุ่นเตือนสึนามิ”
ทุ่นเตือนสึนามิทั้ง 2 ทุ่นนี้จะทำหน้าที่เตือนภัยให้กับพี่น้องหลายร้อยชุมชนทางชายฝั่งอันดามัน ทั้ง 6 จังหวัด ในประเทศไทยและประเทศไกล้เคียง
ก่อนถึงแผ่นดินเราได้แซวกันเล่น ๆ ว่า จะมีใครรู้ไหมว่านี่คือ #ภารกิจเพื่อชาติ นะเนี่ย เสียงพรำ ๆว่าใครจะไปรู้เล่า เราแค่มาช่วย น่ะ งานอาสาที่ไม่มีเบี้ยเลี้ยงนะ555
รายงานโดย ชาญวิทย์ สายวัน ภาพ อำนาจ -ชาญวิทย์

ภาพโดย ชาญวิทย์ สายวัน
ภาพโดย อำนาจ จันทร์ช่วง