โดย ฟองเวลา
ในวัย 15 -19 ปี ฉันออกเร่ร่อนทำงาน พอวัย 20 กลับมาเรียนกศน.(ก็หวังวุฒิการศึกษาเพื่อยกระดับงาน) วัย 21 เป็นทหารเกณฑ์ วัย 24-30 ก็ทำงานหาเงิน ตลอดช่วงเวลานั้น ล้วนทำเพื่อตนเอง วัย 32 – 42 เริ่มได้ดูแลบ้านช่องบ้าง แต่ก็มามีครอบครัวเสียอีก หลังจากนั้นน้ำหนักขีวิตก็เอียงมาทางตนเองเสียมากกว่า … บ้านช่อง’ที่หมายถึงสังคม ประเทศชาติ
ไม่กล้าใช้คำปลอบใจตัวเองหรอกว่า แค่เป็นคนธรรมดาของสังคมก็นับว่าได้ช่วยชาติแล้ว …แบบนั้นมันง่ายเกินไป!!!
ให้กำลังใจเด็กเยาวชน น้องๆ ที่ไม่นิ่งดูดายต่อความผุกร่อนของ “บ้านช่อง’ มันประจักษ์ชัดว่าสำนึกของเธอและเขา เป็นสำนึกของเจ้าของบ้าน มิใช่ผู้เช่า หรือผู้อาศัย แน่นอน..พวกเธอยังต้องขัดเกลาบ่มเพาะในสนามชีวิตจริง สำนึกและความกล้าหาญคือต้นทุนที่ดี
คนแก่ และเริ่มคนแก่ จะหยิบจับไม้กวาดยังไม่ไหว บ่นเตือนเธอบ้างก็อย่าได้ดูเบา เก็บไปพิจารณาปรับใช้
ตามคติแบบพราหมณ์นั้น คนวัย 50 ล่วงแล้วต้องฝึกปล่อยวาง ..เพื่อความมั่นคงทางจิตใจ.