ทำไมชาวเลจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งที่อยู่ริมทะเลมาเนิ่นนาน?

  • วิถีชีวิตที่อพยพโยกย้ายบ่อยครั้งถือเป็นวิถีเร่ร่อน วิถีชายขอบ เพราะว่าแนวคิด นโยบาย และระบบกฎหมายในปัจจุบันมักจะยึดเอามุมมองของสังคมที่อยู่ติดที่และตั้งหลักปักฐานเป็นสำคัญ ระบบกรรมสิทธิ์ก็มักต้องมีปัจเจกบุคคล เอกชน หรือรัฐ เป็นเจ้าของ ซึ่งต่างจากมุมมองของชนพื้นเมือง โดยเฉพาะชาวเลโดยสิ้นเชิง ชาวเลมอแกนในสมัยก่อนถือเอาเรือเป็นบ้าน และเดินทางไปมาตามเกาะและชายฝั่งทะเล เมื่อถึงฤดูฝนก็ตั้งกระท่อมหรือเพิงชั่วคราว ส่วนชาวอูรักลาโว้ยนั้นแม้จะอยู่อาศัยในหมู่บ้านชายฝั่งทะเล แต่ก็มีวิถี “บากัด” คือออกไปตั้งเพิงพักชั่วคราวเพื่อจับสัตว์ทะเลและหาของป่า หรือออกเรือไปทำาประมงตามเกาะต่าง ๆ เป็นเวลาหลายวัน นอกจากนั้นยังไม่มีการยึดทรัพยากรเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล เพราะสังคมมีพื้นฐานอยู่บนหลักคิดของการแบ่งปันกันใช้
  • ชาวเลทุกกลุ่ม แม้ว่าจะเป็นกลุ่มที่มีสัญชาติ บัตรประชาชน แต่ส่วนใหญ่ก็พบว่าผืนดินที่เคยอยู่อาศัยเคยทำมาหากิน และเคยเดินทางผ่านไปมานับร้อย ๆ ปีตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษได้ถูกจับจองครอบครอง หรือประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครอง สาเหตุที่ทำให้ชาวเลส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์หรือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทั้ง ๆ ที่เป็นผู้อยู่อาศัยและทำมาหากินในบริเวณนี้มาเนิ่นนานเนื่องจาก
  1. การไม่ยึดติดกับการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ดินใด ๆ ชาวเลมีระบบคิดว่าทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน พื้นที่
    ชายฝั่ง หาดทราย รวมทั้งทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลเป็นสิ่งที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนสามารถจะเข้าถึง
    และใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้โดยหลักสิทธิชุมชนและการเอื้อเฟื้อต่อกัน การอยู่อาศัยและใช้พื้นที่สืบเนื่อง
    มาก็น่าจะเป็นเครื่องรับรองสิทธิในตัวเองอยู่แล้ว
  2. ในสมัยก่อน ชาวเลกับคนในท้องถิ่นไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับมากนัก เพราะชาวเลมักจะเกรงกลัวคนแปลกหน้า
    โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้นำ ผู้ที่มีอำนาจอิทธิพล อีกทั้งทัศนคติของคนท้องถิ่นส่วนหนึ่งต่อชาวเล
    ก็เป็นไปในเชิงลบ ดังนั้น ชาวเลจึงไม่ได้รับความสนใจจากคนภายนอกและหน่วยงานรัฐ ไม่มีผู้ใด
    เข้ามาช่วยสนับสนุนการปกป้องคุ้มครองสิทธิของคนกลุ่มนี้โดยเฉะาะสิทธิในที่ดินอยู่อาศัย
  3. ชาวเลเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ไม่รู้หนังสือ ไม่รู้กฎหมาย จึงเชื่อคนง่ายและไม่รู้เท่าทันคนภายนอก
    ที่เข้ามาเพื่อผลประโยชน์ต่าง ๆ แม้ในปัจจุบันชาวเลจะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว แต่คนรุ่นเก่าที่ไม่รู้
    หนังสือหรือคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่รู้เท่าทันคนภายนอกก็ถูกหลอกลวงบ่อยครั้ง นอกจากนั้น ชาวเลบางคน
    ก็ขายที่ดินหรือแลกเปลี่ยนที่ดินกับข้าวของจำเป็นไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

    การที่ชาวเลไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่งผลต่อความมั่นคงของครอบครัว ชุมชน และทำให้ไม่ได้รับสาธารณูปโภคและบริการที่เหมาะสมและพอเพียง บ้านบางหลังในบางชุมชนถูกไล่รื้อ ทำให้ขาดที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของชีวิต ในขณะที่ชายฝั่งทะเลอันดามันพัฒนาไปเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก มีโรงแรมรีสอร์ท ที่พักอาศัยหรูหราราคาแพงสำหรับคนไทยและต่างชาติที่มีสตางค์จ่าย แต่ชาวเลซึ่งเป็นชนพื้นเมืองอยู่อาศัยและทำมาหากินในบริเวณนี้มาอย่างยาวนานกลับถูกละเลยและทอดทิ้ง มรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ากำลังจะสูญหายไปท่ามกลางการเข้ามาของกระแสทุนและพาณิชย์นิยม การปกป้องคุ้มครองผู้คนและวัฒนธรรมที่เปราะบางเช่นนี้จึงเป็นเรื่องจำาเป็นอย่างยิ่งก่อนที่ประเทศไทยจะสูญเสียวิถีวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ไปอย่างไม่มีวันย้อนกลับมาได

    ที่มา: หนังสือทักษะวัฒนธรรมชาวเล /อ.นฤมล อรุโณทัย/ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ
ภาพเอกเชนปิดทางสัญจรชาวเล เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล /ภาพจากเครือข่ายชาวเล
ภาพเหตุการณ์เอกชนอ้างสิทธิ์ในที่ดินและปิดทางชาวเลราไวย์ จ.ภูเก็ต
ภาพโรงแรมหน้าหมู่บ้านชาวอูรักลาโว้ย เกาะสิเหร่ จ.ภูเก็ต /จากหนังสือทักษะวัฒนธรรมชาวเล