ทำไมจึงไม่ควรเรียก “ชาวเล” ว่า “ชาวน้ำ”

“ชาวน้ำ”เป็นชื่อเก่าแก่ที่ใช้เรียกชาวเลและเป็นชื่อที่ปรากฏในเอกสารเก่าหลายฉบับ พจนานุกรมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถานที่พิมพ์ในปี พ.ศ. 2542 ให้คำนิยาม ชาวน้ำ ว่าเป็น “ชื่อชนชาติเดิมพวกหนึ่งอยู่ทางทะเล
ด้านตะวันตกของแหลมมลายู ฉลางหรือชาวเลก็เรียก”
ในสมัยต่อมาความหมายของ“ชาวน้ำ” มีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ชาวเลหลายคนตีความว่า
ชาวน้ำ หมายถึง “คนที่เกิดจากน้ำเชื้อสืบพันธุ์ของหญิงชาย” และหากถูกใครเรียกว่า ชาวน้ำ ก็จะรู้สึก
ไม่พอใจ ถือเป็นคำที่ดูถูกดูแคลนมาก เพราะทำให้ชาวเลกลายเป็นกลุ่มที่แปลกแยกออกไปจากกลุ่มชนอื่น
ทั้งที่ทุกคนทุกเผ่าพันธุ์ก็เกิดจากน้ำเหมือนกันทั้งนั้น คำนี้จึงไม่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
ส่วนคำว่า “ไทยใหม่” เป็นอีกคำหนึ่งที่ใช้เรียกชาวเล และใช้กันอย่างแพร่หลายในบางพื้นที่ แต่ก็เป็น
คำที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่เกิน 30-40 ปีมานี้เอง และมีนัยว่าชาวเลได้รับการ “ยกระดับ” ให้เป็นไทย
แล้ว เพราะได้รับสัญชาติไทย ติดต่อสื่อสารเป็นภาษาไทยได้ได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียน และเข้าสู่ระบบ
ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไทย หากใช้คำนี้คุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมดั้งเดิมจะถูกมองข้ามไป
นอกจากนี้คำว่า “ไทยใหม่” ยังทำให้เกิดความสับสนเพราะเป็นคำรวมที่ใช้เรียกกลุ่มมอแกน มอแกลน หรือ
อูรักลาโว้ย จึงไม่สามารถจะระบุให้ชัดเจนได้ว่าเป็นชาวเลกลุ่มใด ดังนั้น ชื่อที่ควรใช้คือเรียกตามที่คนในกลุ่ม
เรียกตนเอง (Endonym) ซึ่งก็คือ “มอแกน” “มอแกลน” และ “อูรักลาโว้ย” แต่หากจะใช้คำรวมที่มี
ความหมายครอบคลุมทั้งสามกลุ่ม ก็ใช้คำว่า “ชาวเล” ได้

ที่มา..ทักษะวัฒนธรรมชาวเล

ภาพประเพณีนอนหาดชาวมอแกน บ้านหินลูกเดียว จ.ภูเก็ต