วันนัดพบวัฒนธรรมชาวเล เป็นมาอย่างไร

จากปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล (มอแกน, มอแกลน. อูรักลาโว้ย) เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่มาจากการพัฒนาที่ไม่สมดุลย์  อย่างการส่งเสริมการท่องเที่ยว  การประกาศเขตอนุรักษ์ของรัฐ และอคติชาติพันธุ์  ที่เบียดขับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวเล   มีความต้องการใช้ที่ดินและทะเลเพื่อการท่องเที่ยว ชาวเลถูกขับออกจากพื้นที่ด้วยวิธีการต่าง ๆในหลายพื้นที่ใช้วิธีการที่รุนแรง ข่มขู่คุกคาม ฟ้องขับไล่  การประกาศเขตหวงห้ามของรัฐที่มีมาทีหลัง  ทำให้ชาวเลไม่มีสิทธิเข้าไปหากินในที่ทำกินดั้งเดิมที่เคยหากินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ   การขาดความรู้ทางกฎหมายและความอคติชาติพันธุ์ทางสังคมทำให้ขาดความสนใจในการแก้ปัญหาชาวเลอย่างจริงจัง  ทำให้คุณภาพชีวิตชาวเลไม่มั่นคง  จึงเป็นกลุ่มเปราะบางแห่งสังคมพหุวัฒนธรรม ที่ควรส่งเสริมและคุ้มครองทางวัฒนธรรม
ทั้งนี้เมื่อวันที่  2  มิถุนายน 2553  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการแนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล  และมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนไปปฏิบัติ  ประกอบด้วย  การสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย  การประกอบอาชีพประมง  การช่วยเหลือด้านสาธารณสุข   การแก้ปัญหาสัญชาติ การส่งเสริมด้านการศึกษา / ทุน  /หลักสูตรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต  การแก้ปัญหาอคติทางชาติพันธุ์  การส่งเสริมด้านภาษาและวัฒนธรรมของชาวเล  การส่งเสริมชุมชนและเครือข่ายชาวเลให้เข้มแข็ง ฟื้นฟูทั้งในระยะและระยะยาว และส่งเสริมให้มีงบประมาณ สนับสนุน “วันนัดพบวัฒนธรรมชาวเล” ขึ้นในช่วงเดือนพศจิกายนของทุกปี (ซึ่งในปี พ.ศ.2566 เป็นการจัดงานฯ ครั้งที่ 13 จัดที่ จ.ภูเก็ต)