‘หวันมุ้งมิ้ง’แล้ว เมื่อลูกคนกลางโทรมาแจ้งข่าวว่า เธอจะลงสมัครชิงตำแหน่งประธานสภานักเรียนของโรงเรียน เมื่อถามว่ามีเหตุผลอะไรถึงอยากลงสมัคร เธอว่ามีปัญหาหนึ่งค้างคาใจตลอดมา คือปัญหาการจัดการขยะในโรงเรียน จึงอยากผลักดันแก้ไข “ปัญหาของเราอาจไม่ใช่ปัญหาของคนอื่นก็ได้ สภารุ่นก่อนจึงไม่เคยทำสำเร็จสักที” ฉันให้ความเห็นกับลูก “เอางี้ ลองเปิดพื้นที่รับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ข้อวิจารย์จากเพื่อนนักเรียนสิ” แล้วฉันก็ทดลองเสนอแนวคิดเพื่อให้ลูกนำไปหารือกับทีม
…’การรับฟัง ระดมความคิดเป็นพื้นฐานสำคัญในสังคมประขาธิปไตย ใช้กระดาษเอ.สี่ตัดเป็นสี่ชิ้น ช่วงพักกลางวันให้เพื่อนๆนำไปแจกตามห้องเรียน ให้นักเรียนแต่ละคนเขียนข้อเสนอแนะอย่างอิสระโดยไม่ต้องระบุชื่อผู้เขียน ตอนเลิกเรียนค่อยเก็บรวบรวม แล้วทีมก็มานั่งสรุปข้อเสนอ ประมวลทั้งหมดนำมาเป็นภารกิจร่วมในการผลักดัน บางทีจะพบว่ามีคนที่มองเห็นปัญหาตรงกับเราหลายคน แล้วก็ได้รู้ปัญหาความต้องการของเพื่อนๆด้วย เห็นจำนวนก็เห็นพลังและรู้ว่าควรชวนใครทำเรื่องอะไร…’
“แต่น้องๆนักเรียนส่วนมากไม่ค่อยจะมีข้อเสนอหรอก” ลูกสาวแย้ง
“อย่าเพิ่งคิดแทนเขาสิ การเขียนความคิดลงบนกระดาษโดยไม่ต้องระบุชื่อ มันต่างกันกับการเสนอโดยยืนพูดในที่ประชุมนะ ต่อให้เพื่อนคิดข้อเสนอไม่ออก แต่การที่เราเปิดพื้นที่ให้เขาได้เขียนความคิด นั่นก็เท่ากับเราเห็นหัว เห็นความสำคัญของทุกคนแล้ว”
“พ่อ!… บางทีลูกอาจไม่ได้ทำก็ได้ คือพวกนักเรียนชายส่วนใหญ่เขาจะสนับสนุนผู้สมัครที่เป็นผู้ชาย” ลูกสาวให้ความเห็นจากสภาพการณ์ภายในรั้วโรงเรียน “ทำเถอะ แพ้ชนะไม่ใช่สาระ การได้สร้างรูปแบบการรับฟังในสังคมโรงเรียนถือเป็นขัยชนะแล้ว ต่อไปถ้าเพื่อนๆน้องๆในโรงเรียนเขาเห็นว่าวิธีการนี้เป็นสิ่งดี เขาก็จะได้นำไปปฏิบัติใช้ เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน”
……..ถ้าวัยเด็กคือรุ่งอรุณแห่งชีวิต วัยชราก็คล้ายยามเย็น “หวันมุ้งมิ้ง”โพล้เพล้ใกล้ค่ำ ก็ไม่จำเป็นต้องฝืนต้านฉุดรั้งดวงตะวันไว้ …เมื่อปรับม่านตาและอารมณ์ได้เราก็สามารถรื่นรมณ์ไปกับราตรีกาล สัมผัสลีลาศแห่งดวงดาวผสานคลอเสียงกรีดปีกของแมลงกลางคืน ‘ยอบตัว’ผสานตนเป็นส่วนหนึ่งของราตรีอย่างเบิกบาน.