ทำไมจึงเรียกเกาะลันตาว่าเป็นเมืองหลวงของชาวอูรักลาโว้ย

เกาะลันตา หรือชื่อที่ชาววอูรักลาโว้ยเรียกว่า “ปูเลาซาตั๊ก” หมายถึงเกาะที่มีหาดทรายทอดตัวเป็นแนวยาว
บ้านหัวแหลมกลางบนเกาะลันตาแห่งนี้เคยถูกขนานนามว่าเป็นเมืองหลวงของชาวอูรักลาโว้ยในเขตน่าน้ำไทย
เลยทีเดียว ด้วยว่าในอดีตเคยมีชาวอูรักลาโว้ยอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ประมาณ 40-50 ครัวเรือน
โดยมีร่องรอยหลักฐานที่บ่งบอกว่า ชาวเลกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “อูรักลาโว้ย” อพยพเข้ามาอาศัยตามหมู่เกาะต่าง ๆ ในแถบทะเลอันดามันมาเป็นเวลานานดังปรากฏให้เห็นจากสุสานโบราณ ศาลเคารพเก่าแก่ ตำนานความเชื่อ
เกี่ยวกับสถานที่ และชื่อสถานที่ต่าง ๆ บริเวณหมู่เกาะโดยรอบที่เป็นภาษาอูรักลาโว้ยนั่นเอง
จากคติความเชื่อของชาวเลแทบทุกกลุ่มที่เชื่อกันว่าที่ดิน ผืนน้ำ และป่าไม้เป็นของคนทุกคน ไม่มีผู้ใด
เป็นเจ้าของ ใครจะใช้ประโยชน์ที่ไหนอย่างไรก็ได้ เมื่อชาวเลไม่มีวัฒนธรรมในการจับจองครอบครองพื้นที่
เพื่อตั้งถิ่นฐานถาวร เป็นเพียงการสร้างเพิงพักชั่วคราวตามเกาะและชายฝั่งทะเล กอปรกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อต่อ
วิถีการเดินทางเร่ร่อนและเคลื่อนย้ายหากินตามฤดูกาล อาทิ โรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะโรคระบาดหรือโรคติดต่อ
ร้ายแรง การทะเลาะและความขัดแย้งภายในกลุ่ม ฯลฯ ดังนั้นภายหลังเมื่อต้องหวนกลับมายังแหล่งที่พักอาศัย
เดิม ก็มักจะพบว่ามีผู้อื่นเข้ามาจับจองยึดครองกรรมสิทธิ์แล้ว นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมชุมชชนชาวเลหลายแห่ง
จึงประสบปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน.

ที่มา..ทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเรื่องราวชาวเล/อ.นฤมล อรุโณทัย หน้าที่ 188-189

แผนที่เกาะลันตา จ.กระบี่

เกาะลันตา จ.กระบี่
เกาะลันตา จ.กระบี่
ภาพประเพณีลอยเรือชาวอูรักลาโว้ย เกาะลันตา จ.กระบี่
หลาโต๊ะ สังกาอู้ เกาะลันตา จ.กระบี่